เนื้อหาประชาสัมพันธ์ : "อีสาน"มลพิษฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยรายปีสูงกว่ากทม.-เชียงใหม่
วันที่ประกาศ : 31/05/2564
ผู้ประกาศ : งานบริการและเผยแพร่วิชาการ
รายละเอียด

พูดถึงปัญหามลพิษทางอากาศฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ส่วนใหญ่จะนึกถึงและเข้าใจว่าสภาพปัญหามีอยู่เพียงพื้นที่กทม.และเชียงใหม่เท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว "ภาคอีสาน"ก็เกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งจากค่าเฉลี่ยรายปีย้อนหลัง 3 ปี พบว่า จ.ขอนแก่นสูงกว่ากทม.และเชียงใหม่ในทุกปี       การประชุมสัมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง"มลพิษอากาศในภาคอีสานและศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการการป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ" ผ่านระบบZOOM จัดโดย ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เมื่อเร็วๆนี้ดร.ชัชวาล อัยยาธิติ อาจารย์สาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉายภาพลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศสภาพเศรษฐกิจและสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)ที่เชื่อมโยงถึงปัญหามลพิษอากาศว่า ภาคอีสานมีเทือกเขากั้นจากภาคอื่น มีแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครที่ลาดเอียงจากตะวันตกไปตะวันออก อากาศทั่วไปร้อนชื้นสลับกับแล้งมีผลร่อความรุนแรงของลม ทั้ง2 ส่วนจึงมีผลต่อการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศ ขณะที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจะเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยเป็นเนื้อที่ทางการเกษตร 63.86 ล้านไร่ แยกเป็นนาข้าว 41.75 ล้านไร่ พืชไร่ 11.45 ล้านไร่ สวนไม้ผลและไม้ยืนต้น 5.90 ล้านไร่ สวนผักและไม้ดอก 0.32 ล้านไร่ และการเกษตรอื่นๆ4.44 ล้านไร่ โดยพืชหลักของภาค ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ชัชวาล บอกว่า สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในภาคอีสารมีเพียง 12 สถานี และมีเพียงสถานีเดียวที่ข้อมูลสมบูรณ์ คือ ของจ.ขอนแก่นที่มีการวัดถึงPM2.5 สะท้อนว่าการติดตามคุณภาพอากาศไม่ถูกให้ความสำคัญมากทั้งที่ค่าPM2.5 ไม่ต่ำกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ปี 2561-2563 พบว่า ค่าPM2.5เฉลี่ยรายปี จ.ขอนแก่น เกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับมากกว่า 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศเมตร(มคก./ลบ.ม)ทุกปี ขณะที่ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 25 มคก./ลบ.ม โดยสูงกว่ากทม.และเชียงใหม่ที่อยู่ในระดับสูงกว่าค่ามาตรฐาน แต่ไม่ถึง30มคก./ลบ.ม นอกจากนี้ ปี 2560-2562 จ.ขอนแก่นมีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐานเพิ่มจาก 20กว่าวัน เป็น30กว่าวัน และ 50กว่าวันตามลำดับ โดยค่าสูงสุดเกินค่ามาตรฐานชัดเจนช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. และปลายต.ค.-ธ.ค.ของทุกปี ที่เป็นฤดูเก็บเกี่ยวเพราะวิถีชีวิตสัมพันธ์กับเกษตร"จะเห็นว่าปัญหามลพิษทางอากาศของภาคอีสาน ไม่ได้ด้อยหรือน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆที่มีรายงานปัญหามลพิษในประเทศไทย โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญ คือ การเผาในที่โล่งพื้นที่เกษตรกรรม สถานประกอบการ โรงงาน และยานพาหนะคมนาคม"ชัชวาลกล่าว






[ ปิดหน้าต่างนี้ ]